เกี่ยวกับเว็บไซต์นี้
วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
“経済のにほんご” เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ที่ประสงค์จะเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และวิธีการใช้คำเหล่านี้ ผู้ใช้ควรมีความรู้ในภาษาญี่ปุ่นระดับกลางขั้นสูง และมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ดังนี้
- เป็นผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้ศัพท์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเพื่อจะเข้าศึกษาในสาขาที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
- เป็นผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและของนานาประเทศทั่ว่โลกเพื่อประโยชน์ในการทำงาน
วิธีการใช้เว็บไซต์นี้
1. เลือกภาษาที่ต้องการ
“経済のにほんご” มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ในหน้าแรกขอให้เลือกภาษาที่ต้องการ 1 ภาษา เมื่อเข้าสู่หน้าของภาษานั้นแล้ว จะสามารถเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นได้โดยใช้ลิงก์ภาษาที่อยู่ด้านขวาบนของหน้าจอ
2. เลือกหมวดคำในคำศัพท์พื้นฐาน
ในหน้าแรกของแต่ละภาษาจะกำหนดให้เลือก "ศัพท์วิชาการ" หรือ "ศัพท์ข่าว" จากนั้นเลือกหมวดคำที่ต้องการศึกษา
"ศัพท์วิชาการ" เหมาะสำหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในระดับอุดมศึกษา มี 612 คำ
"ศัพท์ข่าว" เหมาะสำหรับการเตรียมตัวเพื่อการทำงาน มี 140 คำ
คำศัพท์ทั้งสองหมวดนี้คัดเลือกมาจากตำราระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายของญี่ปุ่น
คำศัพท์พื้นฐาน นอกจากจะเลือกจากหมวดคำได้แล้ว ยังสามารถป้อนคำศัพท์เช่น 価格 かかく price ลงในช่องสืบค้นด้านบนของหน้าจอเพื่อค้นหาคำได้ด้วย
3. การเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐาน
คำศัพท์พื้นฐาน ด้านบนจะมีเสียงอ่านฮิรางานะกำกับ ด้านล่างจะมีคำแปล และเมื่อคลิกที่เครื่องหมายด้านขวา จะได้ยินเสียงอ่านคำศัพท์นั้น ที่ตัวอักษรฮิรางานะจะมีสีแสดงการเปลี่ยนเสียงจากสูงลงต่ำ เช่น 「きぎょう」ขณะที่ฟังเสียงให้สังเกตว่า เสียงสูงลงต่ำที่ตำแหน่งใด ก็จะทำให้สามารถจดจำและออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
สำหรับคำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ จะมีเครื่องหมาย☆2 ประเภทกำกับซึ่งมีความหมายดังนี้
- ☆☆ หมายถึง คำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ (คำศัพท์ส่วนใหญ่ มาจากตำรา "หน้าที่พลเมือง"ระดับมัธยมต้น )
- ☆ หมายถึง คำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญรองลงมา (คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากตำรา "สังคมปัจจุบัน" หรือ "การเมือง เศรษฐกิจ" ระดับมัธยมปลาย)
4. การเรียนรู้วิธีใช้คำศัพท์พื้นฐาน
ในคำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ หากมีข้อความกำกับว่า "ดูสำนวนการใช้" เมื่อคลิกที่คำว่า "ดูสำนวนการใช้" จะปรากฎรายการสำนวนที่แสดงการใช้คำศัพท์พื้นฐานสำคัญนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น 「価格が上がる」「価格の変化」
ที่ใต้สำนวนจะมีคำแปลอยู่ หากคลิกที่เครื่องหมายด้านขวาจะได้ยินเสียงอ่าน คำศัพท์พื้นฐานที่มีสำนวนการใช้มีทั้งสิ้น 92 คำ และ มีสำนวนการใช้ทั้งหมด 630 สำนวน
ในตัวอย่างคำศัพท์พื้นฐาน สามารถเรียนรู้ได้ 2 รูปแบบคือ
- “แสดงตัวอย่าง”
- อ่านตัวอย่างประโยค » ฟังตัวอย่างประโยค
- “ฝึก ฟังและเขียนตามที่ได้ยิน”
- อ่านคำใบ้สำนวน » ฟังตัวอย่างประโยค » ดูเฉลย » ทำแบบฝึกข้อต่อไป
การเรียนรู้โดยเริ่มจาก "แสดงตัวอย่างประโยค" เป็นการฝึกอ่านประโยคตัวอย่างทีละประโยคและฟังประโยคตัวอย่าง เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้คำศัพท์นั้น ๆ เป็นครั้งแรก ลำดับการนำเสนอสำนวนการใช้ จะเรียงจาก สำนวนที่ใช้ร่วมกับกริยา เช่น「価格が上がる」สำนวนที่ใช้ร่วมกับคำนาม เช่น「価格の変化」สำนวนที่ใช้ร่วมกับคำคุณศัพท์ เช่น「価格が高い」และสำนวนจะรวมไว้ด้วยกันจำแนกตามความหมาย
วิธีการฝึกฝนโดยเริ่มจาก "ฝึกฟังและเขียนตามคำบอก" นั้น จะให้สำนวนการใช้ 1 สำนวนเพื่อบอกใบ้ และเมื่อฟังประโยคตัวอย่างนั้นจบ ให้ดูเฉลยเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสำหรับผู้ที่รู้จักคำศัพท์นั้นมาก่อนแล้ว
กรณีที่ฝึกฝนโดย "ฝึกฟังและเขียนตามคำบอก" นั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น อาจจะฝึกฟังไปพูดไป(shadowing) หรือ ฟังประโยคตัวอย่างแล้วพูดทวนซ้ำ (repeating) หรือ ฟังแล้วเขียนตามคำบอก (dictation) ก็ได้
ตัวอย่างประโยคสำนวนการใช้ จะเป็นประโยคง่าย ๆ สั้น ๆ (ไม่เกิน 35 คำ) ข้อความก็เหมาะสำหรับการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ เป็นประโยคที่แต่งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ผู้สอนภาษาญี่ปุ่น และ ผู้เชียวชาญด้านเศรษฐศาสตร์
ผู้จัดทำ
ตำแหน่งใน ( ) เป็นข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 2010
*ข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2016
- ผู้รับผิดชอบโครงการ และ กำกับดูแล
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- การคัดเลือกคำศัพท์พื้นฐาน
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- การแบ่งประเภทหมวดคำศัพท์พื้นฐาน
- ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- การตรวจสอบเสียงสูงต่ำในคำศัพท์พื้นฐาน
- มาซาโกะ โอคุโบะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- อากิโกะ โทดะ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- คานาโกะ โทยะ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- การพิจารณาและตัดสินความเป็นสำนวนเฉพาะ
- ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
- ฮิเดโยชิ ยางาชิโระ (อาจารย์ผู้ช่วยสอน ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยริกเคียว)
- ทาคุมิ คงโงะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- คัดเลือกและเรียงลำดับสำนวนศัพท์เฉพาะ
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- แปลคำศัพท์พื้นฐานและสำนวนศัพท์เฉพาะ
- ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ (รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
- ศิริวรรณ มุนินทรวงศ์ (ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
- ปาจรีย์ วิวัฒนปฐพี (นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
- ฐิติกร ดำรงค์พานิช (พนักงานส่งเสริมการลงทุน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)*
- จัดทำประโยคตัวอย่างสำนวนศัพท์เฉพาะ
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- ผู้ช่วยจัดทำประโยคตัวอย่างสำนวนศัพท์เฉพาะ
- นาโอโกะ คิตะมุระ (อาจารย์พิเศษประจำศูนย์นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยโยโกฮามะ)
- บรรณาธิการตัวอย่างประโยคสำนวนศัพท์เฉพาะ
- ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
- ยาซึชิ อางาทสึมะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- บันทึกเสียงคำศัพท์พื้นฐาน สำนวนศัพท์เฉพาะ ตัวอย่างประโยคสำนวนศัพท์เฉพาะ
- มาซาโกะ โอคุโบะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- ออกแบบเว็บไซต์
- โฮคุโตะ ซึนามิ (นักออกแบบเว็บไซต์อิสระ)
- คำอธิบายในเว็บไซต์
- ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
- แปลภาษาไทยคำอธิบายในเว็บไซต์
- ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ (รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์(หรือทรัพย์สินทางปัญญา)ของข้อมูลทั้งหมด(ตำรา แผนภาพ เสียง)ที่นำลงในเว็บไซต์นี้ เป็นของ ชิซึโกะ โคมิยะ
การคัดลอกหรือทำซ้ำข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนที่ลงในเว็บไซต์นี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่สามารถกระทำได้
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่รวบรวมใน "คำถาม" จะใช้เพื่อการบริหารและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น สำหรับอีเมลที่กรอกส่งมานั้น อาจนำมาใช้เพื่อการติดต่อสอบถามจากทางผู้จัดทำ
เกี่ยวกับลิงก์
การขอลิงก์เข้าสู่เว็บไซต์นี้สามารถกระทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อมา แต่หากมีการแจ้งให้ทางผู้จัดทำทราบก็จะเป็นพระคุณยิ่ง กรณีที่จะทำลิงก์ ขอความกรุณาใช้ภาพแบนเนอร์ด้านล่าง (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
ภาคผนวก
การจัดทำเว็บไซต์นี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น JSPS ทุนวิจัยคะเคงฮิ เลขที่ JP20520482 หัวหน้าชุดโครงการวิจัย ชิซึโกะ โคมิยะ (KOMIYA Chizuko)
การจัดทำฉบับแปลภาษาไทยในเว็บไซต์นี้ ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยพิเศษ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ
(โครงการหมายเลข 2016-A-060 )
ที่ติดต่อ
กรณีที่มีคำถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ กรุณาติดต่อมายังอีเมลด้านล่างนี้
keizai.nihongo AT mark gmail.com
(ผู้รับผิดชอบ KOMIYA Chizuko และ SUNAMI Hokuto)