เกี่ยวกับเว็บไซต์นี้

» 日本語

วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์

“経済のにほんご” เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ที่ประสงค์จะเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และวิธีการใช้คำเหล่านี้ ผู้ใช้ควรมีความรู้ในภาษาญี่ปุ่นระดับกลางขั้นสูง และมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ดังนี้

  • เป็นผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้ศัพท์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเพื่อจะเข้าศึกษาในสาขาที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
  • เป็นผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและของนานาประเทศทั่ว่โลกเพื่อประโยชน์ในการทำงาน

วิธีการใช้เว็บไซต์นี้

1. เลือกภาษาที่ต้องการ

“経済のにほんご” มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ในหน้าแรกขอให้เลือกภาษาที่ต้องการ 1 ภาษา เมื่อเข้าสู่หน้าของภาษานั้นแล้ว จะสามารถเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นได้โดยใช้ลิงก์ภาษาที่อยู่ด้านขวาบนของหน้าจอ

2. เลือกหมวดคำในคำศัพท์พื้นฐาน

ในหน้าแรกของแต่ละภาษาจะกำหนดให้เลือก "ศัพท์วิชาการ" หรือ "ศัพท์ข่าว" จากนั้นเลือกหมวดคำที่ต้องการศึกษา

"ศัพท์วิชาการ" เหมาะสำหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในระดับอุดมศึกษา มี 612 คำ

"ศัพท์ข่าว" เหมาะสำหรับการเตรียมตัวเพื่อการทำงาน มี 140 คำ

คำศัพท์ทั้งสองหมวดนี้คัดเลือกมาจากตำราระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายของญี่ปุ่น

คำศัพท์พื้นฐาน นอกจากจะเลือกจากหมวดคำได้แล้ว ยังสามารถป้อนคำศัพท์เช่น 価格 かかく price ลงในช่องสืบค้นด้านบนของหน้าจอเพื่อค้นหาคำได้ด้วย

3. การเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐาน

คำศัพท์พื้นฐาน ด้านบนจะมีเสียงอ่านฮิรางานะกำกับ ด้านล่างจะมีคำแปล และเมื่อคลิกที่เครื่องหมายด้านขวา จะได้ยินเสียงอ่านคำศัพท์นั้น ที่ตัวอักษรฮิรางานะจะมีสีแสดงการเปลี่ยนเสียงจากสูงลงต่ำ เช่น 「きぎょう」ขณะที่ฟังเสียงให้สังเกตว่า เสียงสูงลงต่ำที่ตำแหน่งใด ก็จะทำให้สามารถจดจำและออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ

สำหรับคำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ จะมีเครื่องหมาย☆2 ประเภทกำกับซึ่งมีความหมายดังนี้

  • ☆☆ หมายถึง คำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ (คำศัพท์ส่วนใหญ่ มาจากตำรา "หน้าที่พลเมือง"ระดับมัธยมต้น )
  • ☆ หมายถึง คำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญรองลงมา (คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากตำรา "สังคมปัจจุบัน" หรือ "การเมือง เศรษฐกิจ" ระดับมัธยมปลาย)

4. การเรียนรู้วิธีใช้คำศัพท์พื้นฐาน

ในคำศัพท์พื้นฐานที่สำคัญ หากมีข้อความกำกับว่า "ดูสำนวนการใช้" เมื่อคลิกที่คำว่า "ดูสำนวนการใช้" จะปรากฎรายการสำนวนที่แสดงการใช้คำศัพท์พื้นฐานสำคัญนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น 「価格が上がる」「価格の変化」

ที่ใต้สำนวนจะมีคำแปลอยู่ หากคลิกที่เครื่องหมายด้านขวาจะได้ยินเสียงอ่าน คำศัพท์พื้นฐานที่มีสำนวนการใช้มีทั้งสิ้น 92 คำ และ มีสำนวนการใช้ทั้งหมด 630 สำนวน

ในตัวอย่างคำศัพท์พื้นฐาน สามารถเรียนรู้ได้ 2 รูปแบบคือ

“แสดงตัวอย่าง”
อ่านตัวอย่างประโยค » ฟังตัวอย่างประโยค
“ฝึก ฟังและเขียนตามที่ได้ยิน”
อ่านคำใบ้สำนวน » ฟังตัวอย่างประโยค » ดูเฉลย » ทำแบบฝึกข้อต่อไป

การเรียนรู้โดยเริ่มจาก "แสดงตัวอย่างประโยค" เป็นการฝึกอ่านประโยคตัวอย่างทีละประโยคและฟังประโยคตัวอย่าง เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้คำศัพท์นั้น ๆ เป็นครั้งแรก ลำดับการนำเสนอสำนวนการใช้ จะเรียงจาก สำนวนที่ใช้ร่วมกับกริยา เช่น「価格が上がる」สำนวนที่ใช้ร่วมกับคำนาม เช่น「価格の変化」สำนวนที่ใช้ร่วมกับคำคุณศัพท์ เช่น「価格が高い」และสำนวนจะรวมไว้ด้วยกันจำแนกตามความหมาย

วิธีการฝึกฝนโดยเริ่มจาก "ฝึกฟังและเขียนตามคำบอก" นั้น จะให้สำนวนการใช้ 1 สำนวนเพื่อบอกใบ้ และเมื่อฟังประโยคตัวอย่างนั้นจบ ให้ดูเฉลยเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสำหรับผู้ที่รู้จักคำศัพท์นั้นมาก่อนแล้ว

กรณีที่ฝึกฝนโดย "ฝึกฟังและเขียนตามคำบอก" นั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น อาจจะฝึกฟังไปพูดไป(shadowing) หรือ ฟังประโยคตัวอย่างแล้วพูดทวนซ้ำ (repeating) หรือ ฟังแล้วเขียนตามคำบอก (dictation) ก็ได้

ตัวอย่างประโยคสำนวนการใช้ จะเป็นประโยคง่าย ๆ สั้น ๆ (ไม่เกิน 35 คำ) ข้อความก็เหมาะสำหรับการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ เป็นประโยคที่แต่งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ผู้สอนภาษาญี่ปุ่น และ ผู้เชียวชาญด้านเศรษฐศาสตร์

ผู้จัดทำ

ตำแหน่งใน ( ) เป็นข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 2010
*ข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2016

ผู้รับผิดชอบโครงการ และ กำกับดูแล
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
การคัดเลือกคำศัพท์พื้นฐาน
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
การแบ่งประเภทหมวดคำศัพท์พื้นฐาน
ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
การตรวจสอบเสียงสูงต่ำในคำศัพท์พื้นฐาน
มาซาโกะ โอคุโบะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
อากิโกะ โทดะ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
คานาโกะ โทยะ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
การพิจารณาและตัดสินความเป็นสำนวนเฉพาะ
ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
ฮิเดโยชิ ยางาชิโระ (อาจารย์ผู้ช่วยสอน ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยริกเคียว)
ทาคุมิ คงโงะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
คัดเลือกและเรียงลำดับสำนวนศัพท์เฉพาะ
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
แปลคำศัพท์พื้นฐานและสำนวนศัพท์เฉพาะ
ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ (รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
ศิริวรรณ มุนินทรวงศ์ (ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
ปาจรีย์ วิวัฒนปฐพี (นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*
ฐิติกร ดำรงค์พานิช (พนักงานส่งเสริมการลงทุน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)*
จัดทำประโยคตัวอย่างสำนวนศัพท์เฉพาะ
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
ผู้ช่วยจัดทำประโยคตัวอย่างสำนวนศัพท์เฉพาะ
นาโอโกะ คิตะมุระ (อาจารย์พิเศษประจำศูนย์นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยโยโกฮามะ)
บรรณาธิการตัวอย่างประโยคสำนวนศัพท์เฉพาะ
ซาโตชิ โนริกาวะ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทเคียว)
ยาซึชิ อางาทสึมะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
บันทึกเสียงคำศัพท์พื้นฐาน สำนวนศัพท์เฉพาะ ตัวอย่างประโยคสำนวนศัพท์เฉพาะ
มาซาโกะ โอคุโบะ (นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
ออกแบบเว็บไซต์
โฮคุโตะ ซึนามิ (นักออกแบบเว็บไซต์อิสระ)
คำอธิบายในเว็บไซต์
ชิซึโกะ โคมิยะ (ศาสตราจารย์ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ)
แปลภาษาไทยคำอธิบายในเว็บไซต์
ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ (รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)*

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์(หรือทรัพย์สินทางปัญญา)ของข้อมูลทั้งหมด(ตำรา แผนภาพ เสียง)ที่นำลงในเว็บไซต์นี้ เป็นของ ชิซึโกะ โคมิยะ

การคัดลอกหรือทำซ้ำข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนที่ลงในเว็บไซต์นี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่สามารถกระทำได้

นโยบายความเป็นส่วนตัว

ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่รวบรวมใน "คำถาม" จะใช้เพื่อการบริหารและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น สำหรับอีเมลที่กรอกส่งมานั้น อาจนำมาใช้เพื่อการติดต่อสอบถามจากทางผู้จัดทำ

เกี่ยวกับลิงก์

การขอลิงก์เข้าสู่เว็บไซต์นี้สามารถกระทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อมา แต่หากมีการแจ้งให้ทางผู้จัดทำทราบก็จะเป็นพระคุณยิ่ง กรณีที่จะทำลิงก์ ขอความกรุณาใช้ภาพแบนเนอร์ด้านล่าง (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

ภาคผนวก

การจัดทำเว็บไซต์นี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น JSPS ทุนวิจัยคะเคงฮิ เลขที่ JP20520482 หัวหน้าชุดโครงการวิจัย ชิซึโกะ โคมิยะ (KOMIYA Chizuko)

การจัดทำฉบับแปลภาษาไทยในเว็บไซต์นี้ ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยพิเศษ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ
(โครงการหมายเลข 2016-A-060 )

ที่ติดต่อ

กรณีที่มีคำถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ กรุณาติดต่อมายังอีเมลด้านล่างนี้
keizai.nihongo AT mark gmail.com
(ผู้รับผิดชอบ KOMIYA Chizuko และ SUNAMI Hokuto)